หลังอนุมัติให้มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในเดือนกรกฎาคม หลายคนคงรู้สึกสบายตัวขึ้นจากการอนุญาตให้สวมหน้ากากตามความสมัครใจ รวมไปถึงร้านกลางคืนก็ได้กลับมาปิดดึกกันอีกครั้ง แต่ถึงอย่างไรก็ตามเสียงกังวลจากกลุ่มแพทย์ด่านหน้ายังคงออกมาเตือนอยู่ตลอดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสมีสายพันธ์ุใหม่อย่าง โอมิครอน BA.4/BA.5 ที่ว่ากันว่าแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วจนตอนนี้ผู้ติดเชื้อในไทยเกินกว่า 51.7%
ทำความรู้จัก โอมิครอน BA.4 และ BA.5
โควิด BA.4/BA.5 เป็นโควิดสายพันธ์ุย่อยของตระกูลโอมิครอน พบผู้ติดเชื้อรายแรกในแถบแอฟริกาเมื่อช่วงเดือนมกราคมปี 2022 ที่ผ่านมา จนองค์กรอนามัยโลก (WHO) เคยประกาศให้สายพันธุ์ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ย่อยที่ต้องเฝ้าระวังแล้วก่อนที่จะแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทศไทยเอง นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เปิดเผยกับประชาชนว่า ณ ตอนนี้ผู้ติดเชื้อในไทย 100% ป่วยด้วยสายพันธ์ุโอมิครอน รวมถึงเมื่อเจาะกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด พบว่ามีผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธ์ุย่อย BA.4 / BA.5 สูงถึง 489 ราย คิดเป็น 51.7% จากทั้งหมด จึงเป็นเหตุผลชัดเจนแล้วว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ได้ข้ามน้ำมาไทยและแพร่แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยเรียบร้อย
BA.4 และ BA.5 อันตรายแค่ไหน
เชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์ตระกูลเดียวกับโอมิครอนจึงทำให้ไม่ค่อยน่าเป็นห่วงในเรื่องของความรุนแรงต่อร่างกายจนเสียชีวิต แต่หากมองในแง่โอกาสการติดเชื้อก็นับว่าเป็นห่วง เพราะสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 มีจุดเด่นอยู่ที่การแพร่เชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 5 เท่า
และด้วยการแพร่เชื้อย่างรวดเร็วนี้เองทำให้ผู้ติดเชื้ออาจรับความเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบ เนื่องจากโอมิครอน BA.4 / BA.5 แบ่งตัวได้ดีในเซลล์ปอด นอกจากนี้ที่ร้ายสุดคือ เชื้อตัวนี้หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันเก่งทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพน้อยลง คนที่เคยเป็นโควิดก็มีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกครั้ง
อาการของ‘BA.4 และ BA.5 เป็นอย่างไร
หากติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 อาการส่วนใหญ่ถือว่าไม่ค่อยมีความรุนแรงเท่าสายพันธุ์ย่อย BA.1/BA.2 และสายพันธุ์เดลต้าที่เป็นโควิดอีกตระกูล ประกอบกับคนไทยส่วนใหญ่ผ่านการได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว จึงพบอาการไม่ร้ายแรง ได้แก่
ไอ
อ่อนเพลีย/เมื่อยล้า
เป็นไข้
ปวดศีรษะ/กล้ามเนื้อ
เจ็บคอ
ถึงแม้เชื้อโอมิครอน BA.4 และ BA.5 จะแพร่ได้เร็วแต่ไม่รุนแรงจนฟังแล้วไม่ค่อยอันตรายเมื่อเทียบกับเหตุการณ์เฝ้าระวังเมื่อปีก่อนๆ แต่จากคำให้การของแพทย์แนวโน้มยังคงพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่พบเชื้อในประเทศไทยเฉลี่ยวันละ 50,000 คน ส่อปัญหาวิกฤติเตียงล้นโรงพยาบาลอีกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็น 1 ในกลุ่มคนที่ต้องแย่งชิงเตียงทองคำ หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง และการหมั่นทำความสะอาดมือ ยังคงเป็นกิจวัตรที่ต้องทำอยู่ต่อไป
covid 19 โอมิครอน BA.4-BA.5 อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/covid-19